ความรู้พื้นฐานการพัฒนาชุมชน
ความรู้พื้นฐานการพัฒนาชุมชน
1. ปรัชญา แนวคิดพื้นฐาน หลักการ กระบวนการทำงานพัฒนาชุมชน
1.1 ปรัชญาพัฒนาชุมชน
พัฒน์ บุณยรัตพันธุ์ ได้กล่าวถึงหลักปรัชญามูลฐานของงานพัฒนาชุมชน ไว้ดังนี้
1. บุคคลแต่ละคนย่อมมีความสำคัญ และมีความเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกันจึงมีสิทธิอันพึงได้รับการปฏิบัติด้วยความยุติธรรม และอย่างบุคคลมีเกียรติในฐานะที่เป็นมนุษย์ปุถุชนอันหนึ่ง
2. บุคคลแต่ละคนย่อมมีสิทธิ และสามารถที่จะกำหนดวิถีการดำรงชีวิตของตนไปในทิศทางที่ตนต้องการ
3. บุคคลแต่ละคนถ้าหากมีโอกาสแล้ว ย่อมมีความสามารถที่จะเรียนรู้ เปลี่ยนแปลงทัศนะ ประพฤติปฎิบัติและพัฒนาขีดความสามารถให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูงขึ้นได้
4. มนุษย์ทุกคนมีพลังในเรื่องความคิดริเริ่ม ความเป็นผู้นำ และความคิดใหม่ ๆซึ่งซ่อนเร้นอยู่ และพลังความสามารถเหล่านี้สามารถเจริญเติบโต และนำออกมาใช้ได้ ถ้าพลังที่ซ่อนเร้นเหล่านี้ได้รับการพัฒนา
5. การพัฒนาพลังและขีดความสามารถของชุมชนในทุกด้านเป็นสิ่งที่พึ่งปรารถนา และมีความสำคัญยิ่งต่อชีวิตของบุคคล ชุมชน และรัฐฉะนั้น จึงเห็นได้ว่าปรัชญาของการพัฒนาชุมชนนั้น
· ประการแรก ตั้งอยู่บนรากฐานอันมั่นคงแห่งความศรัทธาในตัวคน ว่าเป็นทรัพยากรที่มีความหมายและสำคัญที่สุด มนุษย์ทุกคนมีความสามารถ
· ประการที่สอง การพัฒนาชุมชน ก็คือ ความศรัทธาในเรื่องความยุติธรรมของสังคม(Social Justice) การมุ่งขจัดความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำต่ำสูงที่เห็นได้ชัดในหมู่มวลชนนั้น เป็นเรื่องที่อารยะสังคมพึงยึดมั่น
· ประการสุดท้าย ความไม่รู้ ความดื้อดึง และการใช้กำลังบังคับเป็นอุปสรรคที่สำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของการพัฒนา และความเจริญรุดหน้าจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยวิธีการให้การศึกษาเท่านั้น การให้การศึกษาและให้โอกาสจะช่วยดึงพลังซ่อนเร้นในตัวคนออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และการพัฒนาจะมีประสิทธิภาพได้ก็จะต้องยึดหลักการรวมกลุ่ม และการทำงานกับกลุ่ม เพราะมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และทำงานรวมกันเป็นกลุ่มจะช่วยให้คนได้เจริญเติบโตโดยเร็วที่สุด
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี ได้กล่าวถึงปรัชญาของการพัฒนาชุมชน ประกอบด้วย
1. การพัฒนาชุมชนนั้นให้ความศรัทธา เชื่อมั่นในตัวบุคคลว่าเป็นทรัพยากร(Human Resources) ที่มีความสำคัญที่สุดในความสำเร็จของการดำเนินงานทั้งปวง และเชื่ออย่างแน่วแน่ว่ามนุษย์ทุกคนมีความสามารถที่จะพัฒนาตัวเองได้ตามขีดความสามารถทางกายภาพของตน หากโอกาสอำนวยและมีผู้คอยชี้แนะที่ถูกทาง
2. การพัฒนาชุมชนเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนปรารถนา ต้องการความยุติธรรมที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคม (Social Justice) ต้องการอยู่ในสังคมด้วยความสุขกาย สบายใจ (SocialSatisfaction) และต้องการอยู่ร่วมในสังคมให้เป็นที่ยอมรับของสังคมด้วย (Social Acceptability) ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ และคณะ (2534 : 6) ได้กล่าวถึงปรัชญาการพัฒนาชุมชน ไว้ว่า
การพัฒนาชุมชนมีหลักปรัชญาอันเป็นมูลฐานสำคัญ ดังนี้
1. มนุษย์ทุกคนมีพลังในเรื่องความคิดริเริ่ม และความเป็นผู้นำซ่อนเร้นอยู่ในตัวพลังเหล่านี้สามารถเจริญเติบโต และนำออกมาใช้ได้ ถ้าได้รับการพัฒนา
2. บุคคลแต่ละคนถ้าหากมีโอกาสแล้ว ย่อมมีความสามารถที่จะเรียนรู้ เปลี่ยนแปลงทัศนะ ประพฤติปฏิบัติ และพัฒนาขีดความสามารถให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูงขึ้นได้
3. บุคคลแต่ละคนย่อมมีความสำคัญและมีความเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกันจึงมีสิทธิอันพึงได้รับการปฏิบัติด้วยความยุติธรรมอย่างบุคคลมีเกียรติในฐานะที่เป็นมนุษย์ปุถุชนผู้หนึ่ง
4. บุคคลแต่ละคนย่อมมีสิทธิ และสามารถที่จะกำหนดวิถีการดำรงชีวิตของตนไปในทิศทางที่ตนต้องการ
5. การพัฒนาพลังและขีดความสามารถของคนในชุมชนทุกด้าน เป็นสิ่งที่พึงปรารถนา และมีความสำคัญยิ่งต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนทุกคนและชุมชนโดยส่วนรวม
กรมการพัฒนาชุมชน (2538) ได้กล่าวสรุป ปรัชญางานพัฒนาชุมชน มีความเชื่อว่า
1. มนุษย์ทุกคนมีเกียรติและศักดิ์ศรีในความเป็นคน
2. มนุษย์ทุกคนมีความสามารถ หรือมีศักยภาพ
3. ความสามารถของมนุษย์สามารถพัฒนาได้ถ้ามีโอกาส
1.2 แนวความคิดพื้นฐานในการพัฒนาชุมชน
การศึกษาแนวความคิดพื้นฐานของงานพัฒนาชุมชนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้พัฒนากรสามารถทำงานกับประชาชนได้อย่างถูกต้อง และทำให้งานมีประสิทธิภาพ แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาชุมชนในระดับการปฏิบัติ มีดังนี้
1. การมีส่วนร่วมของประชาชน (People Participation) เป็นหัวใจของงานพัฒนาชุมชน โดยยึดหลักของการมีส่วนร่วมที่ว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจวางแผนงาน การปฏิบัติการและร่วมบำรุงรักษา
2. การช่วยเหลือตนเอง (Aided Self – Help) เป็นแนวทางในการพัฒนาที่ยึดเป็นหลักการสำคัญประการหนึ่ง คือ ต้องพัฒนาให้ประชาชนพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยมีรัฐคอยให้การช่วยเหลือ สนับสนุน ในส่วนที่เกินขีดความสามารถของประชาชน ตามโอกาสและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม
3. ความคิดริเริ่มของประชาชน (Initiative) ในการทำงานกับประชาชนต้องยึดหลักการที่ว่า ความคิดริเริ่มต้องมาจากประชาชน ซึ่งต้องใช้วิถีแห่งประชาธิปไตย และหาโอกาสกระตุ้นให้การศึกษา ให้ประชาชนเกิดความคิด และแสดงออกซึ่งความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อหมู่บ้าน ตำบล
4. ความต้องการของชุมชน (Felt – Needs) การพัฒนาชุมชนต้องให้ประชาชน และองค์กรประชาชนคิด และตัดสินใจบนพื้นฐานความต้องการของชุมชนเอง เพื่อให้เกิดความคิดที่ว่างานเป็นของประชาชน และจะช่วยกันดูแลรักษาต่อไป
5. การศึกษาภาคชีวิต (Life – Long Education) งานพัฒนาชุมชนถือเป็นกระบวนการให้การศึกษาภาคชีวิตแก่ประชาชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคน การให้การศึกษาต้องใหการศึกษาอย่างต่อเนื่องกันไป ตราบเท่าที่บุคคลยังดำรงชีวิตอยู่ในชุมชน
1.3 หลักการดำเนินงานพัฒนาชุมชน
จากปรัชญา และแนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาชุมชนได้นำมาใช้เป็นหลักในการดำเนินงานพัฒนาชุมชน ดังต่อไปนี้
1. ยึดหลักความมีศักดิ์ศรี และศักยภาพของประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้มากที่สุด นักพัฒนาต้องเชื่อมั่นว่าประชาชนนั้นมีศักยภาพที่จะใช้ความรู้ ความสามารถที่จะปรับปรุง พัฒนาตนเองได้ จึงต้องให้โอกาสประชาชนในการคิด วางแผนเพื่อแก้ปัญหาชุมชนด้วยตัวของเขาเองนักพัฒนาควรเป็นผู้กระตุ้น แนะนำ ส่งเสริม
2. ยึดหลักการพึ่งตนเองของประชาชน นักพัฒนาต้องยึดมั่นเป็นหลักการสำคัญว่าต้องสนับสนุนให้ประชาชนพึ่งตนเองได้ โดยการสร้างพลังชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนส่วนรัฐบาลจะช่วยเหลือ สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง และช่วยเหลือในส่วนที่เกินขีดความสามารถของประชาชน
3. ยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมคิด ตัดสินใจ วางแผน ปฏิบัติตามแผน และติดตามประเมินผลในกิจกรรม หรือโครงการใด ๆ ที่จะทำในชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการดำเนินงาน อันเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องความเป็นเจ้าของโครงการ หรือกิจกรรม
4. ยึดหลักประชาธิปไตย ในการทำงานพัฒนาชุมชนจะต้องเริ่มด้วยการพูดคุย ประชุม ปรึกษาหารือร่วมกัน คิดร่วมกัน ตัดสินใจ และทำร่วมกัน รวมถึงรับผิดชอบร่วมกันภายใต้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตยองค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดหลักการดำเนินงานพัฒนาชุมชนไว้ 10 ประการ คือ
Ø ต้องสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
Ø ต้องเป็นโครงการเอนกประสงค์ที่ช่วยแก้ปัญหาได้หลายด้าน
Ø ต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติไปพร้อม ๆ กับการดำเนินงาน
Ø ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่
Ø ต้องแสวงหาและพัฒนาให้เกิดผู้นำในท้องถิ่น
Ø ต้องยอมรับให้โอกาสสตรี และเยาวชนมีส่วนร่วมในโครงการ
Ø รัฐต้องเตรียมจัดบริการให้การสนับสนุน
Ø ต้องวางแผนอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพทุกระดับ
Ø สนับสนุนให้องค์กรเอกชน อาสาสมัครต่าง ๆ เข้ามีส่วนร่วม
Ø ต้องมีการวางแผนให้เกิดความเจริญแก่ชุมชนที่สอดคล้องกับความเจริญในระดับชาติด้วย
1.4 กระบวนการทำงานพัฒนาชุมชน การปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนเป็นงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เป็นกระบวนการดังนี้
1. การศึกษาชุมชน เป็นการเสาะแสวงหาข้อมูลต่าง ๆ ในชุมชน เช่น ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เพื่อทราบปัญหาและความต้องการของชุมชนที่แท้จริง วิธีการในการศึกษาชุมชนอาจต้องใช้หลายวิธีประกอบกันทั้งการสัมภาษณ์ การสังเกต การสำรวจ และการศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนด้วย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด กลวิธีที่สำคัญที่นักพัฒนาต้องใช้ในขั้นตอนนี้ คือ การสร้างความสัมพันธ์กับคนในชุมชน เพราะถ้าหากปราศจากสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพัฒนากรกับชาวบ้าน แล้วเป็นการยากที่จะได้รู้ และเข้าใจปัญหาความต้องการจริง ๆ ของชาวบ้าน ความสัมพันธ์อันดี จนถึงขั้นความสนิทสนม รักใคร่ ศรัทธา จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชน
2. การให้การศึกษาแก่ชุมชน เป็นการสนทนา วิเคราะห์ปัญหาร่วมกับประชาชนเป็นการนำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากขั้นตอนการศึกษาชุมชน มาวิเคราะห์ถึงปัญหาความต้องการและสภาพที่เป็นจริง ผลกระทบ ความรุนแรง และความเสียหายต่อชุมชน กลวิธีที่สำคัญในขั้นตอนนี้คือ การกระตุ้นให้ประชาชนได้รู้ เข้าใจ และตระหนักในปัญหาของชุมชน ซึ่งในปัจจุบันก็คือ การจัดเวทีประชาคม เพื่อค้นหาปัญหาร่วมกันของชุมชน
3. การวางแผน / โครงการ เป็นขั้นตอนให้ประชาชนร่วมตัดสินใจ และกำหนดโครงการ เป็นการนำเอาปัญหาที่ประชาชนตระหนัก และยอมรับว่าเป็นปัญหาของชุมชนมาร่วมกันหาสาเหตุ แนวทางแก้ไข และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจที่จะแก้ไขภายใต้ขีดความสามารถของประชาชน และการแสวงหาความช่วยเหลือจากาภายนอกกลวิธีที่สำคัญในขั้นตอนนี้ คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขปัญหา วิธีการวางแผน การเขียนโครงการ โดยใช้เทคนิคการวางแผนแบบให้ประชาชนมีส่วนร่วม
4. การดำเนินงานตามแผนและโครงการ โดยมีผู้รับผิดชอบในการดำเนินการตามแผนและโครงการที่ได้ตกลงกันไว้ กลวิธีที่สำคัญในขั้นตอนนี้ คือ การเป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุนใน 2 ลักษณะ คือ
4.0 เป็นผู้ปฏิบัติงานทางวิชาการ เช่น แนะนำการปฏิบัติงาน ให้คำปรึกษาหารือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
4.2 เป็นผู้ส่งเสริมให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน
5. การติดตามประเมินผล เป็นการติดตามความก้าวหน้าของงานที่กำลังดำเนินการตามโครงการ เพื่อการปรับปรุงแก้ไขปัญหา อุปสรรคที่พบได้อย่างทันท่วงที กลวิธีที่สำคัญในขั้นตอนนี้ คือ การติดตามดูแลการทำงานที่ประชาชนทำ เพื่อทราบผลความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรค แล้วนำผลการปฏิบัติงานตามโครงการ หรือกิจกรรมไปเผยแพร่เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบสามารถกระทำได้โดย
5.1 แนะนำให้ผู้นำท้องถิ่นหรือชาวบ้าน ติดตามผลและรายงานผลด้วยตนเอง เช่น รายงานด้วยวาจา รายงานเป็นลายลักษณ์อักษร การจัดนิทรรศการ เป็นต้น
5.2 พัฒนากรเป็นผู้รายงานผลการปฏิบัติงานด้วยตนเอง เช่น รายงานด้วยวาจาต่อผู้บังคับบัญชาและผู้เกี่ยวข้อง เสนอผลการปฏิบัติงานต่อที่ประชุม ทำบันทึกรายงานตามแบบฟอร์มต่าง ๆ ของทางราชการ
2. การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม2.1 กระบวนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วม กระบวนการมีส่วนร่วม นับเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาในทุกระดับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การติดตามประเมินผลในกิจกรรม/โครงการของชุมชน เป็นการสร้าง/ปลูกฝังจิตสำนึกในความเป็นเจ้าของกิจกรรม/โครงการ นั้น แนวคิดกระบวนการมีส่วนร่วมปัจจุบัน
แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา (People Paticipation for Development) ได้รับการยอมรับและใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในงานพัฒนาทุกภาคส่วนหรือใน ลักษณะเบญจภาคี ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และประชาชน รวมพลังกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ความหมายของการมีส่วนร่วม Cemer (อ้างถึงใน Priticia Lundy, 1999, หน้า 125) กล่าวว่า “การให้โอกาสให้ประชาชนเป็นฝ่ายตัดสิน กำหนดความต้องการของตนเองเป็นการเสริมพลังอำนาจให้ประชาชนระดมขีดความสามารถในการจัดการทรัพยากร การตัดสินใจ และควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ มากกว่าที่จะเป็นฝ่ายตั้งรับการพัฒนาเพียงฝ่ายเดียว”
สำหรับสายทิพย์ สุคติพันธ์ กล่าวว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงกลไก ในการพัฒนา จากการพัฒนาโดยรัฐ มาเป็นการพัฒนาที่ประชาชนมีบทบาทหลัก การมีส่วนร่วมของประชาชน จึงหมายถึงการคืนอำนาจ (Empowerment) ในการกำหนดการพัฒนาให้ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการริเริ่มและดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสภาพความเป็นอยู่การพัฒนา การแก้ไขปัญหา การกำหนดอนาคตของประชาชนเองการมีส่วนร่วมของ HO (1983 หน้า 32) ให้ความเห็นว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนควรมีเนื้อหาประกอบด้วย 1. การเน้นคุณค่าการวางแผนระดับท้องถิ่น
2. การใช้เทคโนโลยี/ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น 3. การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพประชาชนให้สามารถดำเนินการพัฒนาด้วยตนเองได้ 4. การแก้ไขปัญหาของความต้องการพื้นฐานโดยสมาชิกชุมชน 5. การเอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามแบบประเพณีดั้งเดิม 6. การใช้วัฒนธรรมและการสื่อสารที่สอดคล้องกับการพัฒนาโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความชำนาญของประชาชนร่วมกับวิทยากรที่เหมาะสมและมีการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย
กระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนานั้น ประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน โดยมีนักวิชาการจากภายนอกเป็นผู้ส่งเสริม/สนับสนุนทั้งในด้านข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
บัณฑร อ่อนดำ กล่าวถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ซึ่งเป็นการวัดเชิงคุณภาพออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ (กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา หน้า 200 – 206)
ขั้นตอนที่ 1 การมีส่วนร่วมในขั้นการริเริ่มการพัฒนา เป็นขั้นตอนที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา/สาเหตุของปัญหาภายในชุมชน ตลอดจนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกำหนดความต้องการของชุมชน และจัดลำดับความสำคัญของความต้องการของชุมชนขั้นตอนที่ 2 การมีส่วนร่วมในขั้นการวางแผนในการพัฒนาซึ่งเป็นขั้นตอนของการกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ของโครงการ วิธีการตลอดจนแนวทางการดำเนินงานและทรัพยากรที่จะใช้ขั้นตอนที่ 3 การมีส่วนร่วมในขั้นตอนการดำเนินการพัฒนา เป็นส่วนที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณเทคโนโลยี ฯลฯ จากองค์กรภาคีพัฒนาขั้นตอนที่ 4 การมีส่วนร่วมในขั้นตอนรับผลประโยชน์จากการพัฒนา ซึ่งเป็นทั้งการได้รับผลประโยชน์ทางด้านวัตถุและทางด้านจิตใจขั้นตอนที่ 5 การมีส่วนร่วมในขั้นประเมินผลการพัฒนา เป็นการประเมินว่า การที่ประชาชนเข้าร่วมพัฒนา ได้ดำเนินการสำเร็จตามวัตถุประสงค์เพียงใด การประเมินอาจประเมินแบบย่อย (Formative Evaluation) เป็นการประเมินผลความก้าวหน้าเป็นระยะ ๆ หรืออาจประเมินผลรวม (Summative Evaluation) ซึ่งเป็นการประเมินผลสรุปรวมยอดลักษณะของการมีส่วนร่วม
Cohen and Uphoff (1977, หน้า 6) กล่าวว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาโดยทั่วไป ประชาชนอาจเข้าร่วมในกระบวนการตัดสินใจว่าจะทำอะไร เข้าร่วมในการนำโครงการไปปฏิบัติ โดยเสียสละทรัพยากรต่าง ๆ เช่น แรงงาน วัสดุ เงิน หรือร่วมมือในการจัดกิจกรรมเฉพาะด้าน เข้าร่วมในผลที่เกิดจากการพัฒนาและร่วมในการประเมินผลโครงการนอกจากลักษณะการมีส่วนร่วมดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีผลการศึกษาอีกบางส่วนที่กล่าวถึงลักษณะการมีส่วนร่วม โดยแบ่งตามบทบาทและหน้าที่ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนา (Lee J Cary, 1970 หน้า 147) ดังนี้ 1. เป็นสมาชิก (Membership) 2. เป็นผู้เข้าประชุม (Aterdance at meeting) 3. เป็นผู้บริจาคเงิน (Financial Contribution) 4. เป็นประธาน (Leader) 5. เป็นกรรมการ (Membership in Committees)
กล่าวโดยสรุปลักษณะการมีส่วนร่วมอาจแบ่งโดย1. การสนับสนุนทรัพยากร คือ การสนับสนุนเงิน วัสดุอุปกรณ์ แรงงาน การช่วยทำกิจกรรม ร่วมประชุมร่วมแสดงความคิดเห็น2. อำนาจหน้าที่ของผู้เข้าร่วม คือ ความเป็นผู้นำ เป็นกรรมการเป็นสมาชิกปัจจัยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน (กระบวนการและเทคนิคการทำงานนักพัฒนา หน้า 10)การที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วม นอกจากการปลูกฝังจิตสำนึกแล้วจะต้องมีการส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางซึ่งควรพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
ปัจจัยเกี่ยวกับกลไกของภาครัฐ ทั้งในระดับนโยบายมาตรการ และการปฏิบัติที่เอื้ออำนวย รวมทั้งการสร้างช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน จำเป็นที่จะต้องทำให้การพัฒนาเป็นระบบเปิดมีความเป็นประชาธิปไตย มีความโปร่งใส รับฟังความคิดเห็นของ P และมีการตรวจสอบได้
ปัจจัยด้านประชาชน ที่มีสำนึกต่อปัญหาและประโยชน์ร่วมมีสำนึกต่อความสามารถและภูมิปัญญาในการจัดการปัญหาซึ่งเกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ ซึ่งรวมถึงการสร้างพลังเชื่อมโยงในรูปกลุ่มองค์กร เครือข่ายและประชาสังคม
ปัจจัยด้านนักพัฒนาและองค์กรพัฒนา ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทในการส่งเสริมกระตุ้น สร้างจิตสำนึก เอื้ออำนวยกระบวนการพัฒนาสนับสนุนข้อมูลข่าวสารและทรัพยากรและร่วมเรียนรู้กับสมาชิกชุมชน
การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน 1. การเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment) แก่ประชาชน 2. การสร้างองค์กรและพลังเครือข่าย 3. การวางแผนระดับท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพ 4. การกระจายอำนาจ 5. การใช้หลักเศรษฐกิจแบบพอเพียง การพึ่งตนเองแทนการพี่งพา 6. การจัดกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) ที่เหมาะสมให้กับประชาชน การพัฒนาทักษะเฉพาะด้าน การตลาด ประสบการณ์ 7. การพัฒนาศักยภาพผู้นำและเครือข่าย ให้มีความรู้ ความสามารถ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สนับสนุนการจัดเวทีประชาคมปัญหาอุปสรรคที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนจากการศึกษาของ
ฉลาดชาย รมิตานนท์พบว่าอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของกลุ่ม 3 ด้าน คือ 1. อุปสรรคด้านการเมือง เกิดจากการไม่ได้กระจายอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่ประชาชน โครงสร้างอำนาจทางการเมือง การปกครอง การบริหาร เศรษฐกิจ ตกอยู่ในกำมือของทหาร นายทุน และข้าราชการ 2. อุปสรรคด้านเศรษฐกิจ เกิดจากการขาดความสามารถในการพี่งตนเอง อำนาจการต่อรองมีน้อย กระบวนการผลิต ปัจจัยการผลิตอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ 3. อุปสรรคด้านวัฒนธรรม ขนบประเพณีในแต่ละพื้นที่ที่ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้เนื่องจากขัดต่อขนบธรรมเนียงประเพณีของชุมชน/เผ่า ฯลฯนอกจากนี้ ปรัชญา เวสารัชช์ (2526 หน้า 22 – 23) กล่าวว่าปัญหาที่เกิดจากโครงสร้างทางสังคม เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน คือ 1. ความแตกต่างในสังคม ด้านรายได้ อำนาจ และฐานะทางเศรษฐกิจ 2. ระบบการเมืองถูกควบคุมโดยคนกลุ่มน้อย 3. ขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการแจกแจงทรัพยากรจากการศึกษาและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน สรุปได้ดังนี้ 1. ปัญหาด้านนโยบายและองค์กรภาครัฐ มี 2 ระดับ คือ 1.1 ระดับนโยบาย โครงสร้างทางการบริหาร โครงสร้างทางสังคม พบว่า - นโยบายของรัฐไม่เอื้อต่อการพัฒนา - อำนาจการตัดสินใจรวมศูนย์ที่ส่วนกลางไม่มีการกระจายอำนาจให้แก่ประชาชน - โครงสร้างอำนาจทางการเมือง การบริหารและระบบเศรษฐกิจอยู่ในกลุ่มนายทุน 1.2 ระดับปฏิบัติพบว่า - เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดทักษะในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน - ขาดการประชาสัมพันธ์ การให้ข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง - ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ - ขาดการประสานงาน การติดตาม/ประเมินผลที่เป็นระบบ 2. ปัญหาเกี่ยวกับประชาชน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 2.1 กลุ่มผู้นำ พบว่า - ครอบงำความคิดประชาชน - แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน - ขาดความศรัทธาจากประชาชน 2.2 กลุ่มประชาชนทั่วไป พบว่า - ประชาชนมีภาระด้านการประกอบอาชีพด้านครอบครัว ด้านสุขภาพร่างกายประชาชนขาดทุนทรัพย์ วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน - เกิดความขัดแย้งทางด้านความคิดเห็น/ผลประโยชน์การแบ่งพรรคแบ่งพวก - การขาดความสามัคคี - การขาดการศึกษา ขาดความรู้ทางด้านวิทยาการต่าง ๆ - ขาดความเชื่อมั่น ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น - ไม่สนใจ ไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วม - ไม่ศรัทธาในตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ - ขาดการยอมรับในสิทธิและบทบาทสตรี 3. ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองการปกครอง 3.1 ด้านการเมือง - ขาดการกระจายอำนาจ - ระบบการเมืองถูกควบคุมโดยคนกลุ่มน้อย 3.2 ด้านเศรษฐกิจ - กระบวนการผลิต/ปัจจัยการผลิตอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยม - กลไกของรัฐควบคุมระบบเศรษฐกิจอย่างเข้มงวด - ขาดกลไกทีมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากร 3.3 ด้านสังคมและวัฒนธรรม - การแบ่งแยกเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ - ความไม่รู้อันเกิดจากการขาดการศึกษา - การครอบงำของผู้นำ และการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน - ความยากจนตกอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์ระบบอุปถัมภ์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เกี่ยวกับฉัน
- อรรครินทร์ อรรคบุตร
- นาย อรรครินทร์ อรรคบุตร เรียน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองเเละนฤมิตศิลป์ เรียนเอกผังเมือง ปี 3 หรัส 49011110436 85/13 ต.มะค่า อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม44150 เกิดวันอาทิตย์ ที่ 28 เดือนมิถุนายน 2530 ชื่อเล่น ต่อ MAIL: augkabood@hotmail.com พี่น้องไม่มี ลูกชายคนเดียว งานอดิเลก ชอบตกปลา กีฬาที่ชอบ แตะตระกร้อ หนังที่ชอบ นักฆ่าหน้าบุญ หนังสือที่ชอบ AUTO CAT ความฝัน นักออกเเบบผังเมือง สีที่ชอบ สีเเดง วันที่ใช่ วันอาทิตย์ สถานะ โสด คำคม เงินงาน การศึกษา ควรหาก่อน นิยามความรัก จะรักใคร ถามใจตัวเองก่อนว่า Do you belive in love? ต้นไม้อยู่ไม่ได้ ถ้าขาดน้ำ นกอยู่ไม่ได้ ถ้าขาดฟ้า มดอยู่ไม่ได้ ถ้าขาดน้ำตาล ฉันอยู่ไม่ได้ ถ้าขาดเธอ รักคือ...ความซื่อสัตย์ ถ้าไม่มีความซื่อสัตย์ก้อคงไปด้วยกันไม่ได้ รักคือ...ความเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจกันก็จะทำให้ทะเลาะกัน รักคือ...อิสระ ถ้าเราไม่หั้ยอิสระกับคนที่เรารัก คนที่เรารักเขาก็จะไม่รักเรา รักคือ...บุพเพสันนิวาต พอหลายคนชอบคิดแบบนั้น รักคือ...การเสียสละ ถ้าเราเสียสละแล้วทำให้เขามีความสุขก็ต้องเสียสละ รักคือ...การให้ ให้ในสิ่งที่เราคิดว่ามีเขาความสุข รักแท้ คือพ่อแม่ รักไม่แน่ คือผู้ชาย รักไม่ได้ คือกระเทย
งานกลุ่ม
ป้ายกำกับ
- การพัฒนา (1)
- การแพร่เชื้อของไข้หวัดหมู (1)
- ความรักในครอบครัว (1)
- ความรู้พื้นฐานการพัฒนาชุมชน (1)
- ความหล่อ / ความสวย (1)
- จัดสวนภายในบ้านเพื่อการผ่อนคลายความเครียด (1)
- บ้านประหยัดพลังงาน (1)
- ประเทศไทยในโลกยุคเศรษฐกิจใหม่ (1)
- แผนงาน (4)
- พัฒนา (1)
- เพลง (4)
- ภาวะโรคร้อน (1)
- รูป (1)
- วิธีเพิ่มบทความใหม่ (1)
- สถานที่ท่องเที่ยว จ. มหามารคาม (1)
- สมุนไพรเพื่อสุขภาพ (1)
- สุขภาพ (1)
- หนัง (3)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น